การดูเวลาจะสังเกตจากความยาวและตำแหน่งเงา ที่แสงอาทิตย์ตกกระทบบนพื้นทำกับขีดทั้ง
12 ช่วงเวลาที่แบ่งไว้ เพื่อจะได้ไว้ดูว่าช่วงกลางวันเหลือเวลาที่เท่าไหร่
ส่วนชาวโรมัน แบ่งเวลาออกเป็นช่วงกลางวันและกลางคืน คอยมีเจ้าหน้าที่ประกาศเท่านั้น
ขณะที่ชาวกรีกประดิษฐ์นาฬิกาน้ำ โดยใช้ถ้วยเจาะรูจมลงในโอ่ง เรียกว่า “Clepsydra”
ดูการจมของถ้วยเทียบระยะเวลา ชาวกรีกใช้นาฬิกาชนิดนี้ในศาล
ต่อมาในปี 250 ก่อนคริตศักราช นักปราชญ์อาร์คิมิดิส
พัฒนานาฬิกาน้ำนี้ขึ้นโดยเพิ่มตัวควบคุมความเร็ว เขาปรับปรุงนาฬิกาชนิดนี้เพื่อใช้งานทางดาราศาสตร์
ต่อมาจึงมีการทำนาฬิกาทรายขึ้น
ซึ่งมีลักษณะเป็นแก้วเป่าสองชิ้นมีรูแคบๆ กั้นกลาง โดยใช้ทรายเป็นตัวบอกเวลา
จัดเป็นนาฬิกาแบบแรกที่ไม่อาศัยปัจจัย ดิน ฟ้าอากาศ มักใช้จับเวลาระยะสั้นๆ เช่น
การกล่าวสุนทรพจน์ การบูชา การเฝ้ายาม และการทำอาหาร เป็นต้น
สำหรับนาฬิกายุคใหม่ พัฒนาขึ้นช่วง ค.ศ.100 - 1300 ในยุโรปและในจีน คำว่า “Clock” ในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ระฆัง
อาศัยหลักการดึงดูดก่อให้เกิดน้ำหนักที่จะเคลื่อนคันบังคับ
ซึ่งจะทำให้เข็มนาฬิกาเคลื่อนที่ หอนาฬิกาแห่งแรกในโลก ติดตั้งที่ มหาวิหารสตร๊าสบวร์ก
ในเยอรมันนี ปี ค.ศ.1352 - 54 และปัจจุบันยังใช้งานได้อยู่
ต่อมาในปี ค.ศ.1577 จึงมีการประดิษฐ์เข็มนาที และในปี ค.ศ. 1656
จึงมีการประดิษฐ์ลูกตุ้มที่ใช้ในนาฬิกาทำให้บอกเวลาเที่ยงตรงยิ่งขึ้น
ส่วนนาฬิกาพก ประดิษฐ์ขึ้นโดย นายปีเตอร์ เฮนไลน์
ชาวเมืองนูเรม-บวร์ก
จากนั้นในปี ค.ศ.1962 มีการประดิษฐ์นาฬิกาเชิงอะตอมซีเซียม
ใช้ในหอดูดาวกรีนิช ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือว่าจับเวลาคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
ในปัจจุบัน นาฬิกาอะตอมซีเซียม NIST-F1 ซึ่งตั้งอยู่ที่ National Institute
of Standards and Technology (NIST) สหรัฐอเมริกา
ได้ถูกกำหนดให้เป็นฐานเวลาหลักและฐานความถี่หลักของประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยมีค่าความผิดพลาด 1 วินาทีใน 20 ล้านปี
นอกจากนี้
นาฬิกาอะตอมซีเซียม NIST-F1 ยังถูกใช้ในการกำหนดค่าเวลาสากลเชิงพิกัด หรือที่เรียกว่า UTC
(Coordinated Universal Time) ซึ่งหน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก ที่ใช้เครื่องหมาย บวก หรือ ลบ
เทียบจากหน่วยเวลาสากลที่อ้างอิงกับเวลา GMT (Greenwich Mean
Time) ซึ่งอ้างอิงกับเวลาสากลเชิงพิกัดที่ลองจิจูดที่ศูนย์องศา
ซึ่งผ่านตำแหน่งของหอดูดาวกรีนิช ประเทศอังกฤษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น