วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เลือกนาฬิกาข้อมือให้ถูกโฉลก กับธาตุทั้ง 4

   
 
     หนึ่งวันเราผูกพันกับเครื่องบอกเวลาไม่มากก็น้อย แต่หากพลิกดูหน้าประวัติศาสตร์ มนุษย์ผูกพันกับนาฬิกามาอย่างยาวนานตั้งแต่ยังใช้ดินฟ้าอากาศเป็นเครื่องบอกเวลา และพัฒนามาสู่ “นาฬิกาตุ้มถ่วง” อันเป็นผลสืบเนื่องให้มีนาฬิกาหลายรูปแบบในปัจจุบัน มองย้อนกลับมายังประเทศไทยเริ่มรู้จักการใช้นาฬิกาเมื่อครั้งสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มาถึงยุคปัจจุบัน นาฬิกาข้อมือกลายเป็นแฟชั่นอย่างหนึ่งที่ผู้บริโภคมีความต้องการสูง ส่งผลให้มีนาฬิกาหลากหลายแบบมาให้เลือกสรร แต่จะเลือกนาฬิกาข้อมืออย่างไรให้ถูกโฉลกความเป็นตัวคุณคงไม่ใช่เรื่องง่าย...? 
คาร์ล กุสตาฟ จุง ปรมาจารย์จิตแพทย์ชาวสวิส ผู้ก่อตั้งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ให้ความเห็นไว้ว่า ปรัชญาธาตุทั้ง 4 สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้มากมายทั้ง การบริหารจัดการ พยากรณ์ชะตาชีวิต ศิลปะ วิทยาศาสตร์กายภาพ สิ่งเหล่านี้ทำให้สามารถเข้าใจมนุษย์มากขึ้นและเสริมสร้างชีวิตให้ก้าวหน้าหากมีการแต่งตัวเหมาะสมกับบุคลิก ซึ่ง แต่ละคนมีหลายธาตุประกอบกัน แต่จะมีจุดเด่นที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์อยู่ธาตุเดียว 

จากการวิเคราะห์ของ คาร์ล จุง 
สรุปการเลือกซื้อนาฬิกาข้อมือที่ เหมาะสมตามธาตุทั้ง 4 ไว้ดังนี้
          ธาตุดิน ประกอบด้วยราศีพฤษภ (20 เม.ย.-21 พ.ค.) ราศีกันย์ (23 ส.ค.-22 ก.ย.) และ ราศีมังกร (22 ธ.ค.-19 ม.ค.) บุคลิกเป็นคนเน้นการสัมผัสทางกายภาพคือ ให้ความสำคัญในสิ่งที่มองเห็น ได้ยินหรือจับต้องได้ ขณะเดียวกันก็มีลักษณะเด่นในเรื่องการคุ้มครอง รักษา สะสม ต้องการข้อมูลที่เป็นจริง และยังเป็นนักปฏิบัติ ชอบแก้ปัญหา มีความอดกลั้น ไม่ย่อท้อ 

          สัญลักษณ์ธาตุดิน เป็นสามเหลี่ยมคว่ำมีขีดทับกลางสีเขียว ซึ่งเป็นสีของพืชที่ปกคลุม พื้นดิน                            (หรือสี่เหลี่ยมสีเหลือง แล้วแต่ตำรา)

          นาฬิกาที่ถูกโฉลก คือ สีเหลืองและเขียว สะท้อนความเรียบง่ายสมบุกสมบันและผ่อนคลาย ด้วยบุคลิกคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง เครื่องประดับนาฬิกา ที่เหมาะสมต้องเรียบง่ายเข้ากับบุคลิก เช่น นาฬิกาแนวสปอร์ตหรือสายหนังเรียบ ๆ ซึ่งถือเป็นเครื่องนำโชคที่เหมาะสม

          ธาตุน้ำ ประกอบด้วยราศี กรกฎ (21 มิ.ย.-22 ก.ค.) ราศีพิจิก (23 ต.ค.-22 พ.ย.) และราศีมีน (19 ก.พ.- 20 มี.ค.) มีความเป็นศิลปินสูง ธาตุนี้มีความสำคัญต่อโลกและมนุษย์ เพราะกว่า 70% ของผิวโลกและร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำ ซึ่งหากสังเกตวงจรของน้ำจะพบว่า น้ำทะเลระเหยกลายเป็นไอจับตัวเป็นก้อนเมฆและตกลงมาเป็นฝนดังนั้นธรรมชาติของน้ำก็คือ การค้นหาเพื่อกลับไปสู่สถานะดั้งเดิม คนธาตุนี้จึงให้ความสำคัญกับความรู้สึก จินตนาการและสัญชาตญาณรวมไปถึงสิ่งที่อธิบายด้วยเหตุผลไม่ได้ แต่สามารถรู้สึกได้เหมือนกับการเรียนรู้จากอารมณ์มากกว่า ปัญญา 

          สัญลักษณ์ประจำราศี คือ สามเหลี่ยมคว่ำสีฟ้า

          สีถูกโฉลกคือ สีฟ้า เครื่องประดับบนเรือนนาฬิกาต้องบ่งบอกถึงการเคลื่อนไหวเหมือนเกลียวคลื่น ที่สะท้อนจิตใจของผู้รักศิลปะ โดยต้องมีความโดดเด่นด้านการ ดีไซน์และความพิถีพิถันในรายละเอียด

          ธาตุลม ประกอบด้วยราศีเมถุน (21 พ.ค.-20 มิ.ย.) ราศีตุลย์ (23 ก.ย.-22 ต.ค.) และราศีกุมภ์      (20 ม.ค.-18 ก.พ.) เป็นกลุ่มคนที่เน้นการคิด ใช้เหตุผลและปัญญามีความเชื่อว่า ปัญญาจะนำ ไปสู่ความจริง โดยไม่เชื่อในความรู้สึกหรือสัญชาตญาณในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังเป็นธาตุแห่งความปรองดองและการรวมกลุ่ม เนื่องจากทุกชีวิตอยู่ได้ด้วยการสูดหายใจ คน สัตว์ และพืชต่างหายใจด้วยอากาศ ธาตุลมจะอยู่ไม่นิ่งชอบปรับตัวและเปลี่ยนแปลง 

          สัญลักษณ์คือ สามเหลี่ยมหงายมีเส้นขีดทับตรงกลาง สีเหลือง ซึ่งเป็นสีของท้องฟ้าและแสงแดด

          สีที่ถูกโฉลกคือ เหลืองบุษราคัม แสดงออกถึงความสว่างไสว เจิดจรัสแห่งแสงพลิ้วปลิวไหวตามสายลม

          นาฬิกาที่เหมาะสมควรเป็นแนวแฟชั่นที่ให้ความรู้สึกไม่ ซ้ำซาก จำเจ เนื่องจากคนลักษณะธาตุนี้ กระฉับกระเฉง ชอบการเปลี่ยนแปลง เหมือนกับสายลมที่หมุนวนไม่หยุดนิ่ง

          ธาตุไฟ ประกอบด้วยราศีเมษ (21 มี.ค.-19 เม.ย.) ราศีสิงห์ (23 ก.ค.-22 ส.ค.) และราศีธนู          (22 พ.ย.-21 ธ.ค.) เป็นคนเน้นสัญชาตญาณ กระทำมากกว่าพูด ชอบริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ แต่มักไม่สามารถดูแลจนจบโครงการในสถานการณ์ที่คนอื่นมองเห็นปัญหา แต่มักมองเห็นโอกาสเสมอ บุคลิกกระตือรือร้น ชอบเอาชนะ มักเป็นผู้นำและทำหน้าที่ชักจูงใจผู้อื่น 

          สัญลักษณ์คือ สามเหลี่ยมหงายสีแดง

          สีประจำธาตุคือ สีแดงให้พลังความร้อนแรงดั่งเปลวเพลิง

          นาฬิกาที่เหมาะสมความมีลูกเล่นของกลไกสลับซับซ้อนดีไซน์โฉบเฉี่ยว เต็มไปด้วยพลังที่คอย เสริมให้เปี่ยมล้นด้วยความเชื่อมั่นและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา

ธาตุทั้ง 4 ในร่างกายมนุษย์ 

          ธาตุดิน (ปถวีธาตุ) มีที่ตั้งในร่างกายมนุษย์ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ หัวใจ ตับ ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม สมองศีรษะ กระเพาะ ไต พังผืด อาหารเก่า อาหารใหม่ ซึ่งการจะมีธาตุดินที่สมบูรณ์และมีอวัยวะธาตุดินตามที่กล่าวมาให้แข็งแรงนั้น ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ 1.มีหัวใจที่สมบูรณ์ 2.กินอาหารที่ดี 3.มีการขับถ่ายสะดวก 

          ธาตุน้ำ (อาโปธาตุ) ร่างกายคนประกอบด้วยธาตุน้ำบริเวณ น้ำดี เสมหะ หนอง โลหิต เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก และไขข้อ ไหลไปมาและซึมซับทั่วไปในร่างกาย ความสมบูรณ์ของระบบธาตุน้ำในร่างกายรวมถึงการดูดซับน้ำในลำไส้ต่าง ๆ ตลอดจนการกำจัดของเสียจะขึ้นกับต่อมที่เกิดน้ำมูก เมือกต่าง ๆ ว่าสมบูรณ์หรือไม่ หากแบ่งพิจารณาจะแบ่งการควบคุมน้ำได้ 3 ส่วน คือ 1.ศอเสมหะ คือ น้ำมูก เมือกส่วนบน ตั้งแต่คอขึ้นไป 2.อุระเสมหะ คือ น้ำมูก เมือก ส่วนกลาง ตั้งแต่คอ ลงมาถึงกระเพาะอาหารและลำไส้ตอนบน 3.คูถเสมหะ คือ น้ำมูก เมือก ส่วนล่าง ตั้งแต่ลำไส้ใหญ่ตอนปลายถึงทวารหนัก

          ธาตุลม (วาโยธาตุ) เป็นธาตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว การที่เราจะเดินได้ ยกแขนยกขาหรือแม้แต่การไหลของเลือด การเคลื่อนไหวของปอด ล้วนแต่เกิดจากธาตุลมทั้งสิ้น ธาตุลมในร่างกายแบ่งออกได้เป็น ลมพัดขึ้นเบื้องบนจากปลายเท้าถึงศีรษะ ลมพัดลงเบื้องล่างจากศีรษะถึงปลายเท้า ลมพัดในท้องนอกลำไส้ ลมพัดในลำไส้และกระเพาะลมพัดทั่วร่างกาย ลมหายใจเข้าและออก ธาตุลมจะถูกควบคุมโดยลมอีก 3 ชนิดคือ 1.หทัยวาตะ เกี่ยวกับจิตใจ 2.สัตถกวาตะ เกี่ยวกับระบบการทำงานของประสาทและเส้นเลือดเล็กทั่วไป 3.สุมนาวาตะ คือเส้นกลางตัว ประสาทกลางตัวหรือไขสันหลัง

          ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตของมนุษย์ ทำให้ลมและน้ำเคลื่อนไหว ทำให้ธาตุดินอบอุ่น ไฟในร่างกายประกอบด้วย ไฟทำให้ ร่างกายอบอุ่น ไฟทำให้ร้อน ระส่ำระสาย ไฟทำให้ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรม ไฟย่อยอาหาร ธาตุไฟถูกควบคุมโดยดีและความร้อน  คือ

 1. พัทธปิตตะ ดีที่อยู่ในฝัก 
 2. อพัทธปิตตะ ดีที่อยู่นอกฝัก
 3. กำเดา องค์แห่งความร้อน.





ที่มา เดลินิวส์

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประเภทนาฬิกา


ประเภทนาฬิกา
เราเริ่มต้นกับเรื่องราวการแบ่งประเภทนาฬิกาตามกลไก โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
  1.  Mechanical Watch หรือนาฬิกากลไกจักรกล ที่อาศัยการเคลื่อนไหวของฟันเฟืองต่างๆภายในชุดกลไกที่ได้รับแรงขับมาจากลานสปริงมาทำให้นาฬิกาเดินได้ นาฬิกาจักรกลได้รับการคิดค้นมานานหลายร้อยปีซึ่งประมาณกันว่ามีการคิดประดิษฐ์ขึ้นราวศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
  - Manual Winding Watch คือนาฬิกาไขลาน (หรือไขลานด้วยมือ) ซึ่งเป็นนาฬิกาที่มีใช้กันมาแต่ดั้งเดิมโดยอาศัยการไขลานเพื่อดึงให้สปริงลานดึงขึ้น และเมื่อสปริงลานตัวนี้คลายตัว ก็เสมือนการถ่ายโอนพลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนๆฟันเฟืองต่างๆของกลไกและทำให้นาฬิกาทำงาน



- Automatic Winding Watch (Self-winding watch) คือนาฬิกาออโตเมติก หรือนาฬิกาไขลานอัตโนมัติ หรือเรียกง่ายๆว่าไขลานและทำงานได้ด้วยตัวเอง นาฬิกาในกลุ่มนี้จะมีตัวโรเตอร์ (Rotor) คอยเหวี่ยงขึ้นลานให้ ขณะที่เราสวมใส่นาฬิกาไว้บนข้อมือตลอด หรือ อยู่ในเครื่องหมุนหรือตู้ไขลานนาฬิกา (Watch winder) ซึ่งแรงเหวี่ยงจากข้อมือและตู้ไขลานจะช่วยให้โรเตอร์ทำงานตลอดส่งผลให้เกิดการขึ้นลานตลอด นาฬิกาจึงสามารถเดินได้ตลอดเวลา และจุดสังเกตของนาฬิกากลุ่มนี้ตัวเรือนเบาๆก็จะได้ยินเสียงโรเตอร์สั่นและหมุนดังเป็นเสียงกิ๊กเบาๆ



  2.  Quartz Watch ที่เรียกกันว่านาฬิกาควอตซ์หรือนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์

   
คือนาฬิกาที่ต้องใช้แบตเตอรี่หรือถ่านช่วยในการทำงานนั่นเอง นาฬิกากลุ่มนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เป็นตัวหมุนเข็มนาฬิกาให้เดินบอกเวลาหรือแสดงเวลาผ่านระบบตัวเลขดิจิตอลบนหน้าปัด
แบบ LCD หรือ LED 



ซึ่งจะใช้พลังงานไฟฟ้าบางส่วนส่งผ่านผลึกควอตซ์แล้วรับสัญญาณความถี่กลับออกมาให้ไมโครเซสเซอร์ประเมินผลออกมาเป็นเวลา และควบคุมการเดินของเข็มอีกทอดหนึ่ง นาฬิกาควอตซ์มีความเที่ยงตรงสูงและราคาไม่แพง สะดวกต่อการใช้งาน แต่ไม่นิยมในหมู่นักเล่นนาฬิกาเท่าไร


ที่มา www.expert-watch.com

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เวลา



เวลา : ความหมาย

        หากเราขอให้ใครอธิบายความหมายของคำว่า เวลา เราจะได้รับคำตอบต่างๆ นานา เช่น
นักชีววิทยาคิดว่า.'' เวลา คือ ปัจจัยหนึ่งที่กำหนดพฤติกรรมของสัตว์และพืชให้ดำเนินไปอย่างสมดุลกับธรรมชาติ "



นักฟิสิกส์คิดว่า  '' เวลา คือ มิติหนึ่งของจักรวาล " 
แต่ในมุมมองของคนทั่วไป คิดว่า " เวลา คือ ตัวเลขที่อยู่บนหน้าปัดนาฬิกา "


      
  ไม่เพียงคนในยุคปัจจุบันเท่านั้นที่ครุ่นคิดหาความหมายของเวลา แม้แต่คนในยุคโบราณก็ได้เคยศึกษาธรรมชาติของเวลาเช่นกัน เช่นเมื่อประมาณ 4,500 ปีก่อนนี้ เมื่อชาวบาบิโลนเห็นดาวเคราะห์เคลื่อนที่ เห็นฤดูกาลเปลี่ยนเห็นกลางวันเปลี่ยนเป็นกลางคืน เขาก็เริ่มรู้ความหมายของเวลา จึงเรียกระยะเวลาที่ฤดูเปลี่ยนจากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน แล้วเข้าฤดูหนาว จนกระทั่งกลับเข้าสู่ฤดูร้อนอีกครั้งหนึ่งว่าหนึ่งปี และเรียกระยะเวลาที่เปลี่ยนจากกลางวันเป็นกลางคืน แล้วกลับสู่กลางวันอีกว่า หนึ่งวัน
( สุทัศน์ ยกส้าน. 2544: 159 )


เขตเวลาโลก / เขตเวลามาตรฐาน

        โลกแบ่งเขตเวลาออกเป็น 24 เขตเวลา โดยใช้เส้นลองติจูดแบ่งเขตต่างๆ บนแผนที่ นับเริ่มต้นจากเมืองกรีนวิช ( Greenwish ) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยที่เขตเวลาที่อยู่ทางตะวันออกของเมืองกรีนวิช เวลาจะเร็วกว่า 1 ชั่วโมง ส่วนเขตเวลาที่อยู่ทางตะวันตกของเมืองกรีนวิชเวลาจะช้ากว่า 1 ชั่วโมง
        ส่วนเวลาในประเทศไทยนั้น ในสมัยโบราณคนไทยกำหนดเวลาอย่างคร่าวๆ คือ ตอนดวงอาทิตย์ขึ้นเรียกว่า ย่ำรุ่ง เวลาดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะพอดีเรียกว่า เที่ยงวัน และ เวลาดวงอาทิตย์ตกเรียกว่า ย่ำค่ำ ต่อมาได้มีการจัดตั้งกรมอุทกศาสตร์ และมีนาฬิกาใช้ จึงมีการกำหนดเวลาให้เร็วกว่าเวลาที่เมืองกรีนวิช 6 ชั่วโมง 41นาที 58.2 วินาที
        ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2462 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการประชุมว่าด้วยอุทกศาสตร์ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ รัฐบาลไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเวลาที่ใช้สำหรับประเทศต่างๆ ให้นับห่างกันเพียงกึ่งชั่วโมง เพื่อให้สะดวกในการคิดคำนวณ และได้กำหนดให้เมืองกรีนวิช กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นจุดแห่งการกำหนด และเรียกว่า เวลามาตรฐานกรีนวิช ( Greenwish Mean Time ) ดังนั้นประเทศไทยจึงได้เปลี่ยนมาใช้เวลามาตรฐานเป็นเวลามาตรฐานของประเทศไทย โดยเป็นเวลาก่อนเวลามาตรฐานกรีนวิช 7 ชั่วโมงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2463 เป็นต้นมา


ที่มา  http://iam.hunsa.com

ประวัติของนาฬิกา

   นาฬิกาแดด เป็นนาฬิกาที่ใช้บอกเวลารุ่นแรกสุด ชาวสุเมเรียนเป็นชนเผ่าหนึ่ง ที่ใช้นาฬิกาชนิดนี้ โดยจะแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 12 ช่วงในหนึ่งวัน ซึ่งแต่ละช่วงจะกินเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยใช้วิธีวัดความยาวแสงเงาเป็นมาตรฐานในการวัดระยะเวลา   ด้านชาวอียิปต์ แบ่งเวลาออกเป็น 12 ช่วงเช่นกัน โดยดูเวลาจากเสาหินแกรนิตที่เรียกว่า “Cleopatra Needles”


การดูเวลาจะสังเกตจากความยาวและตำแหน่งเงา ที่แสงอาทิตย์ตกกระทบบนพื้นทำกับขีดทั้ง 12 ช่วงเวลาที่แบ่งไว้   เพื่อจะได้ไว้ดูว่าช่วงกลางวันเหลือเวลาที่เท่าไหร่ ส่วนชาวโรมัน แบ่งเวลาออกเป็นช่วงกลางวันและกลางคืน คอยมีเจ้าหน้าที่ประกาศเท่านั้น ขณะที่ชาวกรีกประดิษฐ์นาฬิกาน้ำ โดยใช้ถ้วยเจาะรูจมลงในโอ่ง เรียกว่า “Clepsydra” ดูการจมของถ้วยเทียบระยะเวลา ชาวกรีกใช้นาฬิกาชนิดนี้ในศาล ต่อมาในปี 250 ก่อนคริตศักราช นักปราชญ์อาร์คิมิดิส พัฒนานาฬิกาน้ำนี้ขึ้นโดยเพิ่มตัวควบคุมความเร็ว เขาปรับปรุงนาฬิกาชนิดนี้เพื่อใช้งานทางดาราศาสตร์  


ต่อมาจึงมีการทำนาฬิกาทรายขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นแก้วเป่าสองชิ้นมีรูแคบๆ กั้นกลาง โดยใช้ทรายเป็นตัวบอกเวลา จัดเป็นนาฬิกาแบบแรกที่ไม่อาศัยปัจจัย ดิน ฟ้าอากาศ มักใช้จับเวลาระยะสั้นๆ เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบูชา การเฝ้ายาม และการทำอาหาร เป็นต้น
สำหรับนาฬิกายุคใหม่ พัฒนาขึ้นช่วง ค.ศ.100 - 1300 ในยุโรปและในจีน คำว่า “Clock” ในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ระฆัง อาศัยหลักการดึงดูดก่อให้เกิดน้ำหนักที่จะเคลื่อนคันบังคับ ซึ่งจะทำให้เข็มนาฬิกาเคลื่อนที่ หอนาฬิกาแห่งแรกในโลก ติดตั้งที่   มหาวิหารสตร๊าสบวร์ก ในเยอรมันนี ปี ค.ศ.1352 - 54 และปัจจุบันยังใช้งานได้อยู่ ต่อมาในปี ค.ศ.1577 จึงมีการประดิษฐ์เข็มนาที และในปี ค.ศ. 1656 จึงมีการประดิษฐ์ลูกตุ้มที่ใช้ในนาฬิกาทำให้บอกเวลาเที่ยงตรงยิ่งขึ้น ส่วนนาฬิกาพก ประดิษฐ์ขึ้นโดย   นายปีเตอร์ เฮนไลน์ ชาวเมืองนูเรม-บวร์ก 


จากนั้นในปี ค.ศ.1962 มีการประดิษฐ์นาฬิกาเชิงอะตอมซีเซียม ใช้ในหอดูดาวกรีนิช ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือว่าจับเวลาคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
ในปัจจุบัน นาฬิกาอะตอมซีเซียม NIST-F1 ซึ่งตั้งอยู่ที่ National Institute of Standards and Technology (NIST) สหรัฐอเมริกา ได้ถูกกำหนดให้เป็นฐานเวลาหลักและฐานความถี่หลักของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีค่าความผิดพลาด 1 วินาทีใน 20 ล้านปี  นอกจากนี้ นาฬิกาอะตอมซีเซียม NIST-F1 ยังถูกใช้ในการกำหนดค่าเวลาสากลเชิงพิกัด หรือที่เรียกว่า UTC (Coordinated Universal Time) ซึ่งหน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก ที่ใช้เครื่องหมาย บวก หรือ ลบ เทียบจากหน่วยเวลาสากลที่อ้างอิงกับเวลา GMT (Greenwich Mean Time) ซึ่งอ้างอิงกับเวลาสากลเชิงพิกัดที่ลองจิจูดที่ศูนย์องศา ซึ่งผ่านตำแหน่งของหอดูดาวกรีนิช ประเทศอังกฤษ


ที่มา   www.showded.com